เทือกเขาภูเวียง  หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “เทือกเขาไดโนเสาร์ภูเวียง” มีวิวัฒนาการมาพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของ “ที่ราบสูงโคราช”  เริ่มมาตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (360 ล้านปีก่อน) ถึงยุคทะเลเพอร์เมียน (286-245 ล้านปีก่อน) จากนั้นเกิดเหตุการณ์ Indosinian Orogeny (250 ล้านปีก่อน) ซึ่งเป็นการเคลื่อนตัวเข้าชนกันของแผ่นอนุทวีปฉานไทย และแผนอนุทวีปอินโดไชน่า  ส่งผลให้แผ่นดินบริเวณนี้ยกตัวสูงขึ้น  ครั้นต่อมาแผนดินที่ถูกยกขึ้นเกิดการคลายตัวลดระดับลงกลายเป็นแอ่งสะสมตะกอนที่เราทราบกันดีในชื่อ “แอ่งโคราช”  เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดช่วยปลายยุคไทรแอสซิก (200 ล้านปีก่อน)  จนสิ้นสุดไปพร้อมกับการสูญพันธุ์ของสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เมื่อปลายยุคครีเทเชียส  แล้วช่วงสุดท้ายของวิวัฒนาการ (64-65 ล้านปีก่อน) ชั้นหินตะกอนในแอ่งโคราชก็ถูกแรงกระทำอีกครั้งหนึ่ง ที่เรียกว่า Himalayan Orogeny ซึ่งเกิดจากการเข้าชนกันของแผ่นทวีปอินเดียและแผ่นทวีปยูเรเชีย  ก่อกำเนิดแนวเทือกเขาหิมาลัยไปพร้อมกับการยกตัวสูงขึ้นของที่ราบสูงโคราช  และเป็นการเริ่มต้นมหายุคใหม่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจนถึงยุคปัจจุบัน

     Phu Wiang Mountains or as we know better by name “Phu Wiang Dinosaur Mountains” has evolved along with with the emergence of "Korat Plateau" began from the Carboniferous period (360 million years ago) to the Permian Sea period (286-245 million years ago), then the Indosinian Orogeny (250 million years ago) occurred. It is the collision of the Thai subcontinent. and the Indochina Subcontinent Plan As a result, the land in this area was raised higher. Subsequently, the raised soil plan loosened and became a sedimentary basin that we know well as "Korat Basin". This event continued throughout the end of the Triassic period (200 million years). before) until the end with the extinction of primitive animals, dinosaurs at the end of the Cretaceous period At the end of evolution (64-65 million years ago), the sedimentary rock in the Khorat Basin was again subjected to a force known as the Himalayan Orogeny caused by the collision of the Indian and Eurasian plates. The formation of the Himalayas along with the uplift of the Korat Plateau And it was the beginning of a new era of mammals to the present day.

     ฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทยพบที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในปี 2519 โดยนายสุธรรม แย้มนิยม อดีตนักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ขณะสำรวจแร่ยูเรเนียม ในหมวดหินเสาขัว ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง บริเวณห้วยประตูตีหมา กระดูกชิ้นนี้มีความกว้างยาวประมาณ 1 ฟุต จากการเปรียบเทียบพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ซอโรพอด ซึ่งมีขนาดใหญ่ยาวประมาณ 15 เมตร และจากการตรวจสอบพบว่าเป็นส่วนปลายล่างสุดของกระดูกต้นขาของไดโนเสาร์จำพวกกินพืช การสำรวจไดโนเสาร์ที่ภูเวียงได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี 2524 โดยนายเชิงชาย ไกรคง นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี ได้พาคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย และฝรั่งเศสขึ้นไปสำรวจกระดูกไดโนเสาร์บริเวณยอดห้วยประตูตีหมา อำเภอภูเวียงคณะสำรวจพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืชขนาดใหญ่ รวมทั้งฟันจระเข้ กระดองเต่า ฟันและเกล็ดปลาโบราณ และจากการสำรวจในเวลาต่อมาได้พบกระดูกไดโนเสาร์อีกหลายชนิด ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงจัดตั้งขึ้น โดยความร่วมมือของกรมทรัพยากรธรณี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ สำหรับให้การศึกษาแก่เยาวชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น 


     Thailand's first dinosaur fossil found in Phu Wiang District Khon Kaen Province in 1976 by Mr. Sutham Yaemniyom, former geologist of the Department of Mineral Resources. while exploring uranium In the category of Hin Sao Khua at Phu Wiang National Park The area of Huai Pratu Tee Mah. This bone was about a foot wide and, by comparison, looked similar to that of a sauropod. which is large, about 15 meters long, and examination found that it is the lower end of the femur of herbivorous dinosaurs An exploration of dinosaurs at Phu Wiang began in earnest in 1981 by Mr Choengchai Kraikong, a geologist from the Department of Mineral Resources. brought a group to explore Thai ancient biology and France went up to explore dinosaur bones at the top of the Huai Pratu Tee Mah Phu Wiang District, the survey team found large herbivorous dinosaur bones. Including crocodile teeth, turtle shells, ancient fish teeth and scales. And from subsequent explorations, many types of dinosaur bones have been found. Phu Wiang Dinosaur Research Center and Museum was established. with the cooperation of the Department of Mineral Resources Tourism Authority of Thailand and Khon Kaen to be a source of study and research for scholars for educating youth and is a tourist attraction of Khon Kaen.

ที่มาของข้อมูลและภาพ  :  

(1) www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=7118

(2) หนังสือ “เรื่องเล่าเทือกเขาไดโนเสาร์ภูเวียง”  สนง.ทรัพยากรธรณีเขต 2

(3) www.thai-tour.com