ในอดีตนับร้อยล้านปีมาแล้วเคยมีไดโนเสาร์หลายชนิดอยู่อาศัยและหากินบนผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทย เมื่อพวกมันล้มตายลงร่างจึงถูกกลบฝังและค่อยๆ กลายสภาพเป็นฟอสซิลอยู่ใต้ชั้นดิน  ปัจจุบันนักบรรพชีวินวิทยาขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ในเมืองไทยกว่า 16 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก 10 ชนิด ได้แก่

       สำหรับในบริเวณเทือกเขาภูเวียง  จังหวัดขอนแก่น  นั้นถือว่ามีความสำคัญด้านบรรพชีวินวิทยา ในระดับโลก  เนื่องจากในจำนวนไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ซึ่งคนพบในประเทศไทย 9 สายพันธุ์นั้น  พบเป็นแห่งแรกที่เทือกเขาภูเวียงถึง 4 สายพันธุ์  ได้แก่

1) ภูเวียงโกซอรัส  สิรินธรเน (Phuwiangosaurus Sirindhornae)

       เป็นไดโนเสาร์กินพืช  เดิน 4 เท้า  ความยาวประมาณ 15-20 เมตร  คอและหางยาว  มักอยู่รวมกันเป็นฝูง  เป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก  มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น  เมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน  พบที่จังหวัดขอนแก่น

“สิรินธรเน” เป็นชื่อชนิดของไดโนเสาร์  ตั้งขึ้นเพื่อถวายพรเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี  ผู้ทรงสนพระทัยในงานด้านบรรพชีวินวิทยาเป็นอย่างมาก

Named to honor HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn of Thailand who has been interested in paleontology, Phuwiangosaurus Sirindhornae was herbivorous sauropod dinosaur living in herds during the Early Cretaceous period around  130 million years ago.It measured between 15-20 meter long, had a long neck and tail, and walked on 4 legs. Found in Khon Kaen Province, this giant plant-eater was a new genus and species of the world.

2) กินรีไมมัส  ขอนแก่นเอสซิส (Kinnareemimus  Khonkaennsis)

       ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ  วิ่งเร็ว  ปราดเปรียว  ไม่มีฟัน ความยาวประมาณ 1-2 เมตร กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร  มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน  พบที่จังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์

Excavated in Khon Kaen Province and Kalasin Province , the Ornithomimosaur (ostrich-mimic dinosaur) was from the Early Cretaceous period around 130 million years ago. Measured 1 – 2 meters long. Kinnareemimus Khonkaenensis was a swift and fast running dinosaur with no teeth, eating both plant and animals.

3) สยามโมไทรันนัส  อิสานเอนซิล (Siamotyrannus Isanensis)

       เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่  เดิน 2 เท้า  ความยาวประมาณ 6.5 เมตร  มีขาหลังที่ใหญ่และแข็งแรง  พบเฉพาะส่วนกระดูกโคนหางและกระดูกสะโพกในลักษณะที่สมบูรณ์ฝังอยู่ในชั้นหินทราย  เป็นไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุด  มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น  เมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน  สันนิษฐานว่าเริ่มมีวิวัฒนาการครั้งแรกในทวีปเอเชีย  แล้วแพร่กระจายไปยังเอเชียเหนือและอเมริกาเหนือ  ก่อนที่จะสูญพันธุ์  พบที่จังหวัดขอนแก่น  กาฬสินธุ์  ชัยภูมิ  สกลนคร  อุดรธานี  และนครราชสีมา

Siamotyrannus isanensis

This large carnivorous dinosaur was the oldest Tyranosaurus found in the world. Existing in the Early Cretaceous period some 130 million years ago. It was believed to originally evolve Asia and then spread to North Asia, North America before becoming extinct. Siamotyrannus isanensis was 6.5 meters long and walked on its 2 huge and powerful legs. Complete fossized Pubis and Caudal vertebrae of the specimen were discovered in sandstones. Excavated in Khon Kaen, Kalasin, Chaiyaphum, Sakon Nakhon, Udon Thani and Nakhon Ratchasima Provinces.

4) สยามโมซอรัส  สุธีธรนิ (Siamosaurus Suteethorni)

       เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดแรกที่พบในประเทศไทย  เดิน 2 เท้า  ความยาวประมาณ 7 เมตร  ฟันมีลักษณะเป็นทรงกรวย  มีแนวร่องและสันเรียงสลับตลอดคล้ายฟันของจระเข้  สันนิษฐานว่ามีแหล่งหากินอยู่ริมน้ำ และกินปลาเป็นอาหาร  มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น  เมื่อประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว  พบที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์  ชัยภูมิ  อุบลราชธานี  สกลนคร  อุดรธานี  และนครราชสีมา  ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ  สุธีธร  ผู้มีส่วนร่วมในการสำรวจ

The first large carnivore discovered in Thailand, Siamosaurus suteethorni lived in the Early Cretaceous period around 130 million years ago. It was 7 meters long and walked on 2 legs. It was known as water dwelling fish-eater from its sharp conical. The fossils were unearth in Khon Kaen, Kalasin, Chaiyaphum, Ubon Ratchathani, Sakon Nakhon, Udon Thani and Nakhon Ratchasima Provinces.

5) ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมี (Phuwiangvenator  Yaemniyomi) **ไดโนเสาร์ที่ค้นพบตัวล่าสุด!!

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก :     

(1) ศูนย์สารสนเทศทรัพยากรธรณี  กรมทรัพยากรธรณี

(2) http://tatedutour.com/node/48?language=th

(3) สาระบรรพชีวิน