หลุมขุดค้นที่ 1 ภูประตูตีหมา

เป็นหลุมขุดค้นแรกเริ่มขุดค้นในปี พ.ศ.2525 พบกระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่จำนวนหลายชิ้นเรียงรายกัน นับเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์จากตัวเดียวกันจำนวนมากเป็นครั้งแรกของเมืองไทย

Excavation site 1:Phu Pratu Tee Ma

This first excavation site was declared in 1982. A group of large dinosaur bones has been found, marking the frst discovery of Thailand where multiple fossils from one dinosaur were found togethe.

หลุมขุดค้นที่ 2 ถ้ำเจีย

อยู่ทางตอนเหนือของหลุมขุดค้นที่ 1 ประมาณ 500 เมตร เริ่มขุดเมื่อปี พ.ศ. 2532 ขุดพบกระดูกส่วนคอของไดโนเสาร์ซอโรพอด เรียงต่อกันจำนวน 6 ชิ้น

Excavation site 2:Jia (bat) Cave

ocated 500 metre to the North from site 1, this second site was frst excavated in 1989. A connected, 6-pieces sauropod neck bone fossil was unearthed.

หลุมขุดค้นที่ 3 ห้วยประตูตีหมา

อยู่บริเวณใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเวียง เริ่มขุดเมื่อปี พ.ศ. 2536 พบกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงของไดโนเสาร์ซอโรพอด ขนาดใหญ่หลายชิ้น

Excavation site 3:Huai Pratu Tee Ma

This excavation site is located near the Phu Wiang National Park’s offce. Firstly excavated in 1993, fossils of large sauropod’s spine and ribs were found here.

หลุมขุดค้นที่ 8หินลาดป่าชาด

พบรอยตีนไดโนเสาร์ มากกว่า 68 รอยใน 10 แนวทางเดิน อายุประมาณ 140 ล้านปีเกือบทั้งหมดเป็นรอยตีนของไดโนเสาร์กลุ่มออร์นิโธมิโมซอร์ แต่หนึ่งในรอยตีนเหล่านั้นมีขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ และมีรอยทางเดินของสัตว์กลุ่มจระเข้ขนาดเล็กบนลานหินทรายหมวดหินพระวิหาร

Excavation site 8:Hin Lad Pah Chad

140-million-year-old dinosaur tracks were found including 68 footprints in 10 track routes. Most of them belong to Ornithomimosaurian dinosaur. One of them, however, is a large footprint estimated to be a trace of a larger dinosaur. A track of prehistoric crocodiles was also found on sandstone of Phra Wihan Formation

หลุมขุดค้นที่ 9หินลาดยาว

พบกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกด้านซ้ายและกระดูกส่วนหางอีกกว่า 10 ชิ้น หาง 13 ชิ้น จากลักษณะของกระดูกบ่งบอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์คาร์โนซอร์ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 6.5 เมต


Excavation site 9:Hin Lad Yao

Fossils of a large, 6-5-metre-long carnosaur were unearthed here including spines, left hipbone, and tailbones. This newly discovered species was then named “Siamotyrannus isanensis” Species found: Siamotyrannus isanensis

หลุมขุดค้นที่ 9B

ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเมกะแรพเตอร์ ชิ้นส่วนตัวอย่างประกอบด้วย ชิ้นส่วนหาง สะโพก กระดูกข้อมือ กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกข้อเท้า ชื่อสกุล ภูเวียงเวเนเตอร์ หมายถึง นักล่าแห่งภูเวียงและชื่อสปีชีส์ แย้มนิยมมิ เป็นนามสกุลของนายสุธรรม แย้มนิยม เป็นผู้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทย

Excavation site 9B

Phuwiangvenator yaemniyomi is a newly-discovered species of dinosaur belonging to the megaraptor group. Fossils found include tailbone, hipbone, thighbone, and ankle. This species’ name means “Hunter of Phu Wiang” and its genus was named to honor Mr. Sudham Yaemniyom, a geologist who discovered the frst dinosaur fossil of Thailand.

สุสานหอย 130 ล้านปี

นอกจากซากไดโนเสาร์แล้ว ฟอสซิลสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ จากยุคดึกดำบรรพ์ก็นับเป็นร่องรอยแห่งกาลเวลาที่น่าสนใจไม่แพ้กันเชิญทุกท่านแวะมาเยี่ยมชมสุสานหอยแห่งยุคบรรพกาลที่ “สุสานหอยอายุ 130 ล้านปี” ณ อุทยานแห่งชาติภูเวียง

130-million-year-old Shell Cemetery

Aside from dinosaurs, animal fossils from other clades are another treasure of time that is no less interesting. We welcome you to the resting place of the past at this “130-million-year-old Shell Cemetery” at Phu Wiang National Park.

ลานตากหมอก วัดทรงศิลา

เดินเล่นชมธรรมชาติผ่านม่านหมอกเย็นๆ ยามเช้า รายล้อมด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ณ ลานตากหมอก วัดทรงศิลา หากคุณมาที่ลานตากหมอกแห่งนี้ นอกจากวิวทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างแล้ว ยังได้สัมผัสบรรยากาศที่ชื่นใจไม่รู้ลืมอีกด้วย

Tak Mhok Field at Song Sila Temple

Take a morning walk through the shrouding mist surrounded by verdant wonder here at Tak Mhok feld at Song Sila Temple. Apart from the beautiful scenery below, this place is known for its unforgettable atmosphere as well

เสาเฉลียง ประติมากรรมแห่งธรรมชาต

ระติมากรรมจากธรรมชาติที่ผสมผสานหินจากสองยุคสมัย เสาเฉลียงรูปร่างแปลกตาที่ท่านเห็นอยู่นี้เกิดจากการกัดเซาะตามสภาพอากาศ ด้วยกระแสลม ฝน และพายุเป็นเวลาหลายล้านปี ส่งผลให้หินท่อนล่างกร่อนลงและหินท่อนบนซึ่งอายุน้อยกว่ายังคงสภาพอยู่ปรากฏเป็นเสาหินรูปร่างคล้ายเห็ดที่ เรียกกันว่า  “เสาเฉลียง”

Earth Pillar - Mother Nature’s Craft

An earth pillar is a true marvel of nature. The pillar consists of two large rocks from differing ages. Over time, forces of nature like rainfall, wind, and storm eroded the lower part of the pillar while the top part remained. As a result, this mushroom-like earth pillar was formed.

ลานหินปุ่ม ลานหินมหัศจรรย์

ลานหินที่เป็นปุ่มขึ้นๆ ลงๆ นี้ก็นับเป็นอีกหนึ่งงานฝีมือของธรรมชาติเช่นกัน การสึกกร่อนทางเคมีและฟิสิกส์ของหิน กอปรกับอิทธิพลของกระแสลมและสายฝน ก่อให้เกิดสนามหินตะปุ่มตะป่ำดูแปลกตาที่คุณสามารถมาเยี่ยมมได้ ณ อุทยานธรณีขอนแก่น

Lan Hin Pum –The Amazing Rock Terrain

This bizarre rocky terrain is yet another craft of nature. The chemical and mechanical by weathering of rocks, along with erosion from wind and rainfall, combined to create this wonder of nature. Come and see it with your own eyes at Khon Kaen Geopark.

ลานแร่ยูเรเนียม

แรกเริ่มเดิมทีได้มีการตรวจพบยูเรเนียมในภูเวียง ต่อมาจึงได้มีคณะสำารวจทางธรณีเข้าไปสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมเพื่อการพัฒนาปรมาณู แม้จะไม่มียูเรเนียมมากพอจะผลิตปรมาณูได้ แต่คณะสำรวจกลับพบสิ่งล้ำค่าจากโลกดึกดำบรรพ์คือ “ฟอสซิลไดโนเสาร์”ชิ้นแรกในประเทศไทยในบริเวณพื้นลำห้วยประตูตีหมา

Uranium Field

A level of Uranium has been found in Phu Wiang mountains. Then, a geological expedition team has been sent to explore whether the Uranium amount would suffce. Although the element’s amount could not sustain nuclearbased usage, the team discovered another treasure: a dinosaur fossil. The fossil belonged to a sauropod dinosaur (long-necked herbivore) named “Phuwiangosaurus sirindhornae”.

อุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียง

ขอเชิญทุกท่านมาพักผ่อนหย่อนใจเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศสวนสาธารณะอันร่มรื่น มีเทือกเขาภูเวียงตั้งตระหง่านเป็นฉากหลัง ณ อุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียง

Sri Wiang Dinosaur Park

Enjoy your time relaxing in Sri Wiang Dinosaur Park. With Phu Wiang Mountains as a natural backdrop, this serene park

ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร

การค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกในเขตหุบเขาภูเวียงได้นำไปสู่การค้นพบซากฟอสซิลอีกมากมาย พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์จึงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องซากดึกดำบรรพ์ และจัดแสดงตัวอย่างเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เยาวชนและผู้ที่สนใจพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ แห่งนี้มี โซนนิทรรศการที่จัดแสดงทั้งหมด 5 โซน

Khon Kaen Dinosaur Museum and Fossil Research Center

After the pioneering discovery of dinosaur fossils in Phu Wiang, several discoveries followed. This was the reason for the Khon Kaen Dinosaur Museum and Fossil Research Center’s establishment; to house and display fossils and to provide knowledge to those who are interested. There are 5 exhibition zones: