ตัวชี้วัด : Indicators

1. The UNESCO Global Geopark is a single, unified territory with significant population supporting sustainable development. The area must contain sites of international geological significance and be managed holistically on conservation, research, and development.


2. The UNESCO Global Geopark connects its geoheritage with other heritages like culture, history, or nature. Geohazards and awareness on climate change should be taught, as well as how to use Earth's resources in a sustainable way.


3. The UNESCO Global Geopark must contain a management body which was legally established. The management body must be able to manage every aspacts of the geopark with proper budget, equipments, workforce, and strategy.


4. The UNESCO Global Geopark should not overlap with other sites of importance designated by UNESCO.


5. The UNESCO Global Geopark should involve local and regional representative in its operation to properly manage the area through the local's lens.


6. The UNESCO Global Geopark must be a member of the Global Geopark Network. Learning and sharing knowledge with other geoparks through networking is also necessary.


7. The UNESCO Global Geopark must respect local and national law on protection of geological heritage and geosites. All sites of importance within the territory must be legally protected.

1. จะต้องมีเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว มีขอบเขตและประชากรที่ เหมาะสม มีมรดกทางธรณีที่ได้รับการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความสำคัญระดับนานาชาติและมีการบริหารจัดการแบบองค์รวมทั้งด้านการอนุรักษ์ การศึกษา การวิจัย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

2. ควรเชื่อมโยงมรดกทางธรณีที่มี เข้ากับมรดกด้านอื่นๆ อย่างมรดกทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรม และควรมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องธรณีภิบัติภัย กระบวนการทางธรณีการใช้ทรัพยากรทางธรณีที่มีอย่างไรให้ยั่งยืน รวมไปถึงการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) และปัญหาที่เกี่ยวข้อง 

3. หน่วยงานบริหารจัดการของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จะต้องถูกตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย มีความพร้อม สามารถบริหารจัดการอุทยานในทุกแง่มุมได้อย่างเหมาะสม 

4. ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนกับเขตพื้นที่ที่ถูกประกาศโดยยูเนสโก เช่น เขตพื้นที่สงวนชีวมณฑล มรดกโลก 

5. ต้องให้ผู้มีบทบาทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ควรมีการใช้ความรู้ แนวปฏิบัติและระบบการจัดการของท้องถิ่นและของชนพื้นเมือง ควบคู่ไปกับหลักวิชาการในการวางแผนและการจัดการพื้นที่อุทยานธรณี 

6. จะต้องเป็นหนึ่งในสมาชิกของเครือข่ายอุทยานธรณีโลก (Global Geopark Network) ควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ให้คำแนะนำ และจัดทำโครงการร่วมกับอุทยานธรณีโลกแห่งอื่นภายในเครือข่ายนี้ 

7. ต้องเคารพกฎหมายท้องถิ่นและระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองมรดกทางธรณีวิทยา แหล่งมรดกทางธรณีวิทยาภายในอุทยานจะต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายก่อนการยื่นสมัคร เพื่อส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองมรดกทางธรณีวิทยาทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ