พระยานรินทร์สงคราม (เจ้าจอมปากช่องภูเวียง)

ครั้นยังมีชีวิตอยู่ พระยานรินทร์สงคราม(ทองคำ) ดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพของเจ้า-อนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เมื่อเกิดการศึกสงครามขึ้น กองทัพของท่านจากที่เคยมีไพร่พลถึง 3,000 นายก็เริ่มอ่อนกำลังลง บ้างก็ตายลงบ้างก็หลบหนี แต่ท่านก็ยังยืนหยัดสู้แม้จะเหลือทหารข้างกายเพียง 6 นายเท่านั้น จากนั้นกองทัพไทยได้จับตัวท่านส่งไปยังพลับพลาเพื่อเสนอชุบเลี้ยงแทนการประหาร พระยานรินทร์สงครามปฏิเสธ เหตุเพราะตนเป็นนักรบไม่ยอมเป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย ตนจึงขอยอมตายดีกว่าแปรพักตร์ ด้วยความที่พระยา-นรินทร์เป็นผู้มีวิชา ฟันแทงไม่เข้า ตามธรรมเนียมจึงต้องมัดกับต้นไม้แล้วไสช้างเข้าแทง ท่านจึงถูกประหาร ณ หน้าค่ายต่อหน้าแม่ทัพไทยอย่างสมเกียรติ ด้วยความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวของท่าน จึงกลายเป็นที่นับถือและเป็นศูนย์รวมใจของชาวภูเวียงเรื่อยมา และมีการสร้าง “ศาลเจ้าจอม” หรือ “ศาลปู่จอม” ไว้ให้คนได้กราบไหว้บูชา โดยชาวบ้านมักจะมีการจัดอาหารคาวหวานและผลไม้เพื่อถวายศาลของท่าน และในโอกาสพิเศษก็มักจะมีการจัดรำถวายเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย

Phraya Narin Songkram, the Guardian of Phu Wiang

In life, Phraya Narin Songkram (Thongkam) was a general of Lord Anuwong of Vientiane. When a war between Siam and Vientiane erupted, his army was defeated. Originally consisting of 3000 soldiers, he fought on until the last moment with only 6 men left. Phraya Narin was captured to the Siamese military camp at Phu Wiang and offered a choice: join Siam or die. An honorable warrior, he decided to be executed instead of betraying his own kingdom. As mentioned in the legend, no weapons could harm him, so the only way is to bind him to a tree and impale him with an elephant. He was executed with honor in front of the Siamese general at the camp. Amazed by his bravery, the Chao Chom or Phu Chom shrine was built in his honor, which also served as a place of worship for Phu Wiang citizens throughout generations. Local people would sometimes worship the guardian spirit with a variety of food, fruits, and liquor. Sometimes, in special occasions, a traditional Thai dance is also performed as a mean to ask for his blessings.